เมนู

ความว่า เป็นผู้เกิดแล้วในที่ขาว คือในตระกูลสูง. คำที่เหลือ บัณฑิตพึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเเล.
บทว่า นิพฺเพธภาคิยา ความว่า พระนิพพาน ท่านเรียกว่า
นิพเพธ. ชนทั้งหลาย ย่อมคบคือ ย่อมเข้าไปใกล้ พระนิพพานนั้น
เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า นิพเพธภาคิยา ( ส่วนแห่งการแทงตลอด). อนิจจ-
สัญญาเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ในหนวดห้า. ความกำหนดหมายในนิโรธา-
นุปัสสนาญาณ ชื่อว่า นิโรธสัญญา. คำเป็นต้นว่า อิเม โข อาวุโส
บัณฑิต ที่ประกอบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระเถระ กล่าวอยู่ซึ่ง
ปัญหา 132 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดหก 22 หมวด แสดงสามัคคี-
รส ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล.
จบหมวด 6

ว่าด้วยธรรมหมวด 7



พระเถระครั้นแสดง สามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดหก ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด
จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น ทรัพย์คือศรัทธา ชื่อว่า ทรัพย์คือศรัทธา
ด้วยอรรถว่า ได้เฉพาะซึ่งสมบัติ. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บรรดา
อริยทรัพย์เหล่านี้ ทรัพย์คือปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งปวง. เพราะ
ว่า สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในปัญญาแล้ว บำเพ็ญ จริต 3 ศีล 5 ศีล 10
ให้บริบูรณ์ ย่อมเข้าถึงสวรรค์ คือ ย่อมแทงตลอด ซึ่งสาวกบารมีญาณ
ปัจเจกโพธิญาณ และพระสัพพัญญุตญาณได้. ปัญญา ท่านเรียกว่า ทรัพย์

คือปัญญา เพราะเป็นเหตุแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งสมบัติเหล่านี้. ก็อริยทรัพย์
แม้ทั้ง 7 ประการเหล่านี้ ท่านกล่าวว่า เจือด้วยโลกิยะ และโลกุตตระ
ทีเดียว. โพชฌงค์กถา ท่านกล่าวไว้แล้วเทียว. บริวารแห่งสมาธิ ชื่อว่า
สมาธิปริกฺขารา. สัมมาทิฏฐิเป็นต้น มีอรรถอันท่านกล่าวไว้แล้วนั่นเทียว.
ด้วยบทว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นต้นเหล่านี้ บริขาร 7 ท่านกล่าวว่า เป็นทั้ง
โลกิยะ ทั้ง โลกุตตระเทียว. ธรรมของอสัตบุรุษทั้งหลาย ชื่อว่า อสัทธรรม
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมอันไม่สงบ คือธรรมอันลามก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อสัทธรรม. บัณฑิตพึงทราบ สัทธรรม โดยปริยายตรงกันข้าม. บรรดา
บทเหล่านี้ คำที่เหลือ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. ก็บรรดาสัทธรรมทั้งหลาย
สัทธรรมแม้ทั้งปวง มีศรัทธาเป็นตัน ท่านกล่าวไว้เฉพาะพระวิปัสสนา.
ปัญญา แม้ในสัทธรรมเหล่านั้น เป็นทั้งโลกิยะ ทั้งโลกุตตระ. นี้ความย่อ.
สองบทว่า สปฺปุริสานํ ธมฺมา ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ. ชนใด
รู้ธรรม ในบรรดาสัปปุริสธรรมเหล่านั้น มีสุตตะและเคยยะเป็นต้น เพราะ
เหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ธัมมัญญู ( รู้จักเหตุ ). ชนใด รู้อรรถแห่งภาษิต
นั้น ๆ นั่นแล เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า อัตถัญญู (รู้จักผล)
ชนใด รู้จักตน อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีประมาณเท่านี้ ด้วย ศีล สมาธิ
ปัญญา เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า อัตตัญญู ( รู้จักตน ). ชนใด
รู้จักประมาณในการรับและการบริโภค เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า
มัตตัญญู (รู้จักประมาณ). ชนใด รู้จักกาลอย่างนี้ว่า นี้กาลแสดง นี้กาล
ไต่ถาม นี้กาลบรรลุโยคธรรม เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า กาลัญญู
(รู้จักกาล). ก็บรรดากาลเหล่านั้น กาลแสดง 5 ปี กาลไต่ถาม 10 ปี.

นี้นับว่า คับแคบยิ่งนัก. กาลแสดง 10 ปี กาลไต่ถาม 20 ปี. เบื้องหน้า
ต่อแต่นั้นไป บัณฑิตพึงกระทำกรรมในการประกอบเถิด. ชนใด รู้จักบริษัท
8 อย่าง เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ปริสัญญู ( รู้จักบริษัท ). ชนใดรู้จัก
บุคคลที่ควรเสพหรือไม่ควรเสพ เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า. ปุคคลัญญู
( รู้จักบุคคล ).
วัตถุมีนิททสเป็นต้น ชื่อว่า นิททสวัตถุ. เหตุแห่งคำอย่างนี้ว่า
ภิกษุไม่มี 10 ภิกษุไม่มี 20 ไม่มี 30 ไม่มี 40 ไม่มี 50. เล่ากันว่า
ปัญหานี้ เกิดขึ้นในสมัยเดียรถีย์. ก็พวกเดียรถีย์กล่าวถึงนิครนถ์ผู้ตาย
ในเวลา 10 ปี ว่า ไม่ใช่ 10. เล่ากันว่า นิครนถ์นั้น มีกาลฝน 10 ก็
ไม่ใช่อีก. อนึ่ง จะว่า 10 ปี อย่างเดียวก็ไม่ใช่ แม้ 9 ปี ฯลฯ แม้ 1 ปี
ก็ไม่ใช่. โดยนัยนั้นนั่นแหละ พวกเดียรถีย์กล่าวถึงนิครนถ์ผู้ตายแม้ใน
เวลา 20 ปี เป็นต้นว่า ไม่ใช่ 20 ไม่ใช่ 30 ไม่ใช่ 40 ไม่ใช่ 50.
ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว จึงไปยัง
วิหาร กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
อานนท์ นี้ไม่ใช่คำของพวกเดียรถีย์หรอก นั้นเป็นคำของพระขีณาสพ
ในศาสนาของเราดังนี้. ด้วยว่า พระขีณาสพ ปรินิพพานแล้วในเวลา
10 ปี จะเป็นผู้ชื่อว่า มีกาลฝน 10 อีกก็ไม่ใช่. อนึ่ง พระขีณาสพ จะเป็น
ผู้ชื่อว่า มีกาลฝน 10 อย่างเดียวก็หามิได้ แม้จะเป็นผู้มีกาลฝน 9 ฯลฯ
แม้จะเป็นผู้มีกาลฝน 1. อนึ่ง พระขีณาสพจะเป็นผู้ชื่อว่า มีกาลฝน 1
อย่างเดียวก็หามิได้ จะเป็นผู้ชื่อว่า 10 เดือนบ้าง ฯลฯ 1 เดือนบ้าง
1 วันบ้าง ครู่หนึ่งบ้าง ก็หามิได้นั่นเที่ยว. ถามว่า เพราะเหตุอะไร.
แก้ว่า เพราะความไม่มีปฏิสนธิอีก. แม้ในคำว่า ไม่มี 20 เป็นต้น ก็นัยนี้

เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสว่า นั่นเป็นคำของพระขีณาสพ
ในศาสนาของเรา ด้วย ประการฉะนี้ ดังนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงเหตุที่
พระขีณาสพนั้น เป็นผู้มีใช่ ( มีกาลฝน ) 10 จึงทรงแสดงนิททสวัตถุ 7
ประการ. แม้พระเถระครั้นยกพระธรรมเทศนานั้นนั่นแหละขึ้นแล้วจึงกล่าว
นิททสวัตถุ 7 ประการ ดังมีคำเป็นอาทิว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในพระ-
ศาสนานี้ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการสมาทานสิกขา. บรรดา
คำเหล่านั้น คำว่า อิธ ได้แก่ ในพระศาสนานี้. หลายบทว่า สิกฺขาสมา-
ทาเน ติพฺพจฺฉนฺโท โหติ
ความว่า เป็นผู้มีความพอใจอย่างมากในการ
บำเพ็ญไตรสิกขา. หลายบทว่า อายติญฺจ สิกฺขาสมาทาเน อวิคตเปโม
ความว่า เป็นผู้มาตามพร้อมด้วยความรักอันตนบรรลุแล้วในการบำเพ็ญ
สิกขา แม้ในวันรุ่งขึ้นเป็นต้น ในอนาคต. บทว่า ธมฺมนิสฺติยา ความว่า
ด้วยการพิจารณาธรรม. คำนั่นเป็นชื่อของวิปัสสนา. บทว่า อิจฺฉาวินเย
ความว่า ในการปราบตัณหา. บทว่า ปฏิสลฺลาเน ความว่า ในความเป็น
ผู้เดียว. บทว่า วิริยารมฺเภ ความว่า ในการบำเพ็ญความเพียรที่เป็นไป
ทางกายและเป็นไปทางจิต. บทว่า สติเนปกฺเก ความว่า ในสติ และ
ในความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน. บทว่า ทิฏฺฐิปฏิเวเธ ความว่า
ในการเห็นมรรค. คำที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่ทั้งปวง
เถิด. พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาทั้งหลาย. สัญญาในอสุภานุปัสสนาญาณ
ชื่อว่าอสุภสัญญา. สัญญา ในอาทีนวานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อาทีนว-
สัญญา. สัญญาที่เหลือท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล. หมวด 7 แห่ง
พละ. หมวด 7 แห่งวิญญาณฐิติ และหมวด 7 แห่งบุคคล มีนัยอันท่าน
กล่าวไว้แล้วนั่นเทียว. กิเลสทั้งหลายเหล่าใดย่อมนอนเนื่อง ด้วยอรรถว่า

ละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น กิเลสเหล่านั้นชื่อว่า อนุสัย. กามราคะที่มีกำลัง
เรี่ยวแรง ชื่อว่า กามราคานุสัย. ในราคะทั้งปวงก็นัยนี้. หมวดเจ็ดแห่ง
สัญโญชน์ มีเนื้อความชัดทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในอธิกรณสมถะ ต่อไปนี้. อธิกรณ์ทั้งหลาย ย่อม
สงบ คือเข้าไประงับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อธิกรณสมถะ. บทว่า อุปฺ-
ปนฺนุปฺปนฺนานํ
ความว่า เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า อธิกรณานํ
ความว่า แห่งอธิกรณ์ 4 เหล่านี้คือ วิวาทาธิกรณ์ 1 อนุวาทาธิกรณ์ 1
อาปัตตาธิกรณ์ 1 กิจจาธิกรณ์ 1. สองบทว่า สมถาย วูปสมาย ความว่า
เพื่อสงบ และเพื่อเข้าไประงับ. พระวินัยธร พึงให้สมถะ 7 เหล่านี้คือ
พึงให้ สัมมุขาวินัย ฯลฯ พึงให้ติณวัตถารกวินัย. นัยแห่งการวินิจฉัย
ในสมถะ เหล่านั้น ดังต่อไปนี้. พึงทราบวินิจฉัยในอธิกรณ์ทั้งหลายก่อน,
วิวาทอันใดแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้วิวาทกัน ด้วยวัตถุ 18 ประการว่า ธรรม
หรือ มิใช่ธรรมก็ตาม อันนี้ชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์ การกล่าวโทษ. การกล่าว
โทษ การติเตียน และการโจทกันอันใด แห่งภิกษุผู้กล่าวโทษกันถึงศีลวิบัติ
ก็ดี ถึงอาจารวิบัติ และอาชีววิบัติก็ดี อันนี้ชื่อว่า อนุวาทาธิกรณ์. กอง
แห่งอาบัติแม้ทั้ง 7 คือ กองแห่งอาบัติ 5 มาในมาติกา กองแห่งอาบัติ 2
มาในวิภังค์ อันนี้ ชื่อว่า อาปัตตาธิกรณ์ การกระทำกรรม 4 อย่าง
มีอปโลกนกรรม เป็นต้น แห่งสงฆ์ อันนี้ชื่อว่า กิจจาธิกรณ์.
บรรดาอธิกรณ์เหล่านั้น วิวาทาธิกรณ์ ระงับได้ด้วยสมถะ 2 คือ
สัมมุขาวินัย 1 เยภุยยสิกา 1. วิวาทาธิกรณ์ ระงับอยู่ด้วยสัมมุขาวินัยเท่านั้น
คือ วิวาทาธิกรณ์ เกิดขึ้นในวิหารใด อันสงฆ์ วินิจฉัยแล้วในวิหาสนั้นนั่น

แหละ ย่อมระงับ เมื่อภิกษุไปเพื่อจะระงับในที่อื่น อันสงฆ์วินิจฉัยแล้วใน
ระหว่างทางก็ย่อมระงับได้ อันภิกษุไปมอบให้แก่สงฆ์ในที่ใด อันสงฆ์ในที่
นั้นวินิจฉัยแล้ว ก็ย่อมระงับได้ หรือว่า ครั้นเมื่อสงฆ์ ไม้อาจเพื่อจะระงับ
อันบุคคลผู้อันสงฆ์สมมติแล้ว วินิจฉัยเพื่อดึงออก ( จากอาบัติ ) ในที่นั้น
นั่นแหละ ย่อมระงับได้เช่นกัน. ก็และครั้นเมื่อวิวาทาธิกรณ์นั้นระงับอยู่
อย่างนี้ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย
ความพร้อมหน้าบุคคล อันใด อันนี้ชื่อว่า สัมมุขาวินัย. ก็บรรดาความ
พร้อมหน้าเหล่านั้น ความที่สงฆ์ผู้กระทำ (กรรม) พร้อมหน้ากัน ด้วย
สามารถแห่งความสามัคคีของสงฆ์ อันนี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์. ความ
ที่มีวัตถุ ( เรื่อง ) อันจะพึงระงับ ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม. การ
พิจารณาโดยประกาศที่วิวาทาธิกรณ์ จะพึงระงับไป ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าวินัย. ภิกษุใดวิวาทกัน และวิวาทด้วยเนื้อความอันใด ความพร้อม
หน้ากันแห่งเนื้อความและคู่กรณี ( ข้าศึก ) ทั้งสองนั้น ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าบุคคล. ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ในวิวาทาธิกรณ์นี้ ย่อมเสื่อหายไป
ในเพราะการเข้าไประงับเพื่อดึงออก ( จากอาบัติ ). วิวาทาธิกรณ์ ย่อม
ระงับไปด้วยสัมมุขาวินัยเท่านั้น อย่างนี้ก่อน. ก็ถ้าว่า วิวาทาธิกรณ์ไม่
ระงับไป แม้อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้พวกภิกษุผู้อันสงฆ์สมมุติ เพื่อดึงออก
( จากอาบัติ ) ย่อมมอบเรื่องนั้นแก่สงฆ์นั่นแหละด้วยคิดว่า พวกเราไม่อาจ
เพื่อจะระงับได้. ลำดับนั้น สงฆ์จึงสมมุติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ห้า ให้
เป็นผู้จับฉลาก เพราะความที่พระธรรมวาทีแห่งบริษัท ผู้ยังภิกษุรูปนั้นให้
จับฉลาก ด้วยสามารถแห่งวิธี อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาการจับฉลาก 3
อย่าง คือ ซ่อน 1 เปิดเผย 1 กระซิบที่หูของตน 1 ประชุมกันแล้วมีมาก

อธิกรณ์ที่เข้าไประงับโดยประการที่ พระธรรมวาทีเหล่านั้น กล่าว ก็จัดว่า
เป็นอันเข้าไประงับแล้ว ด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา. สัมมุขาวินัย
ในวิวาทาธิกรณ์นั้น มีนัยอันท่านกล่าวไว้แล้วนั่นเทียว. ก็การกระทำกรรม
โดยเสียงข้างมากเป็นประมาณอันใด อันนี้ชื่อว่า เยภุยยสิกา. วิวาทาธิกรณ์
ย่อมระงับด้วยสมถะ 2 อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ 4 คือ สัมมุขาวินัย 1 สติ
วินัย 1 อมุฬหวินัย 1 ตัสสปาปิยสิกา 1. อนุวาทาธิกรณ์ ระงับอยู่ด้วย
สัมมุขาวินัย นั่นเทียว คือ ภิกษุผู้โจท กล่าวโทษ และโจท กล่าวโทษ
ผู้ใด อนุวาทาธิกรณ์ อันสงฆ์ฟังถ้อยคำของทั้งสองฝ่ายนั้นแล้ว วินิจฉัย
อย่างนี้ว่า ถ้าว่า อาบัติบางอย่างไม่มี ยังเธอทั้งสองให้อดโทษแล้ว ถ้าว่า
มีอาบัติ อาบัติในอนุวาทาธิกรณ์นี้ ชื่อนี้ ย่อมเข้าไประงับได้. ลักษณะ
แห่งสัมมุขาวินัย ในอนุวาทาธิกรณ์นั้น มีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วนั่น
เทียว. ก็ในกาลใด สงฆ์ให้สติวินัย ด้วยญัติติจตุตถกรรม แก่ภิกษุผู้เป็น
พระขีณาสพผู้ถูกโจท ด้วยศีลวิบัติ อันหามูลมิได้ผู้ขอสติวินัยอยู่ ในกาล
นั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอันระงับไปด้วยสัมมุขาวินัย และสติวินัย. ก็
เมื่อสงฆ์ให้สติวินัยแล้ว การกล่าวโทษของใคร ๆ ย่อมไม่ขึ้น ในบุคคล
นั้นอีก. ในกาลใด ภิกษุผู้เป็นบ้า ถูกพวกภิกษุโจทว่า ท่านผู้มีอายุระลึกถึง
อาบัติเห็นปานนี้ ได้หรือ ในความประพฤติอันไม่ใช่ของสมณะ ด้วยอำนาจ
แห่งความเป็นบ้า แม้กล่าวอยู่ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมผู้เป็นบ้า.
กระทำกรรมนั้นแล้ว กระผมหาระลึกได้ไม่ ดังนี้แล้ว ยังถูกพวกภิกษุโจท
อยู่เทียว ขออมุฬหวินัย เพื่อประโยชน์แก่การไม่โจทอีก และสงฆ์ให้
อมุฬหวินัย แก่ภิกษุนั้นด้วยญัตติจตุตถกรรม ในกาลนั้น อนุวาทาธิกรณ์

เป็นอันเข้าไประงับ ด้วยสัมมุขาวินัย และอมุฬหวินัย. ก็ครั้นเมื่อสงฆ์ให้
อมุฬหวินัยแล้ว การกล่าวโทษของใครๆ เพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นบ้า
เป็นปัจจัย ย่อมไม่ขึ้นในบุคคลนั้นอีก. ก็ในกาลใด เมื่อบุคคลผู้ลามก
เพราะมากด้วยความชั่ว ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก
กลับประพฤติเป็นอย่างอื่น ถ้าว่าบุคคลผู้นี้ จักเป็นผู้มีมูล อันตนต้องการ
แล้ว ประพฤติโดยชอบเทียว จักได้การรวมกัน ( เข้าหมู่ ) ถ้าว่า เป็น
ผู้มีมูลอันตนตัดแล้ว สงฆ์สำคัญอยู่ว่า การขับไล่นี้นั่นแหละ จักมีแก่บุคคล.
นั้น จึงกระทำตัสสปาปิยสิกา ( การลงโทษแก่ผู้ผิด ) ด้วยญัตติจตุตถกรรม
ในกาลนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอันเข้าไประงับ ด้วยสัมมุขาวินัย และ
ตัสสปาปิยสิกา. อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับไปด้วยสมถะ 4 อย่าง ด้วย
ประการฉะนี้.
อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ 3 คือ สัมมุขาวินัย 1
ปฏิญญาตกรณะ 1 ติณวัตถารกะ 1. อาปัตตาธิกรณ์นั้น ไม่มีการเข้าไป
ระงับด้วยสัมมุขาวินัยทีเดียว. ก็ในกาลใด ภิกษุแสดงลหุกาบัติ ในสำนัก
แห่งภิกษุรูปหนึ่ง หรือในท่ามกลางคณะสงฆ์ ในกาลนั้น อาปัตตตาธิกรณ์
ย่อมเข้าไประงับ ด้วยสัมมุขาวินัย และปฏิญญาตกรณะ. บรรดาสมถะ
เหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในสัมมุขาวินัยก่อน ภิกษุผู้แสดงและแสดง
แก่ผู้ใด ความพร้อมหน้ากัน แห่งบุคคลทั้งสองนั้น ชื่อว่า ความพร้อมหน้า
บุคคล. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. ความพร้อมหน้าสงฆ์ ย่อม
เสื่อมหายไปในกาลที่แสดงแก่บุคคลและคณะ. ก็บรรดาสมถะเหล่านี้ การ
กระทำปฏิญญาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมต้องแล้ว ซึ่งอาบัติชื่อนี้ และว่า

ขอรับ กระผมเห็นอยู่ ( ผู้รับแสดงอาบัติกล่าวว่า ) ท่านพึงสำรวมระวัง
ต่อไป อันใด อันนั้น ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะ. การขอปริวาสเป็นต้น
จากอาบัติสังฆาทิเสสทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิญญา การให้ปริวาสเป็นต้น
ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะ. ก็พวกภิกษุผู้กระทำการทะเลาะกัน เกิดแยกเป็น
สองฝ่าย ประพฤติล่วงละเมิดกิจอันมิใช่ของสมณะเป็นอันมาก ครั้นเมื่อ
ลัชชีธรรม เกิดขึ้นอีก เห็นโทษในการชักชวนกัน และกันให้กระทำอาบัติว่า
ถ้าว่าพวกเราพึงกระทำกันและกัน ด้วยอาบัติเหล่านี้ไซร้ อธิกรณ์นั้น
แม้จะพึงมี ก็พึงเป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้หยาบช้า แล้วจึงกระทำติณ-
วัตถารกกรรมในกาลใด ในกาลนั้น อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วย
สัมมุขาวินัย และติณวัตถารกะ. ก็ภิกษุผู้เข้าอยู่ในหัตถบาสในกรรมนั้น
ไม่กระทำกรรมให้แจ้งอันตนเห็นอย่างนี้ว่า กรรมนั้น ไม่เหมาะแก่เรา
แล้วพากันหลบไปเสีย. อาบัติทั้งปวงของภิกษุทั้งปวงเหล่านั้น เว้นโทษที่
หยาบ และที่ปฏิสังยุตต์ด้วยคฤหัสถ์ย่อมออกพ้นไปได้. อาปัตตาธิกรณ์
ย่อมระงับด้วยสมถะ 3 อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
กิจจาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ 1 คือ สัมมุขาวินัยเท่านั้น.
อธิกรณ์ 4 เหล่านี้ ย่อมระงับด้วยสมถะ 7 ประการเหล่านี้ ตามสมควร.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า เพื่อความสงบระงับอธิกรณ์ อันบังเกิด
ขึ้นแล้ว ๆ พึงให้สัมมุขาวินัย พึงให้สติวินัย พึงให้อมุฬหวินัย พึงปรับ
ตามปฏิญญา พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ พึงปรับตามความผิดของ
จำเลย พึงใช้ติณวัตถารกวิธี ดังนี้แล. นี้เป็นนัยแห่งการวินิจฉัยในอธิกรณ์
เหล่านี้. ส่วนความพิสดารมาแล้วในสมถขันธกะนั่นแล. แม้การวินิจฉัย

แห่งความพิสดารนั้น ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกา. คำเป็นต้น
ว่า อิเม โข อาวุโส บัณฑิตพึงประกอบโดยนัย อันข้าพเจ้ากล่าวแล้ว
นั่นเทียว. พระเถระกล่าว 98 ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด 14 หมวด
แสดงสามัคคีรส ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล.
จบหมวด 7

ว่าด้วยธรรมหมวด 8



พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด ด้วย
ประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดแปด
จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาต่อไปอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉตฺตา คือ ไม่แน่นอน ได้แก่
มีสภาพที่ผิด. บทว่า สมฺมตฺตา คือ แน่นอน ได้แก่ มีสภาพที่ถูกโดยชอบ.
บทว่า กุสีตวตฺถูนิ ได้แก่ เรื่อง คือ ที่พึ่งของตนเกียจคร้าน คือของ
คนขี้เกียจ อธิบายว่า เหตุของความเกียจคร้าน. หลายบท ว่า กมฺมํ
กตฺตพฺพํ โหติ
ความว่า พึงกระทำกรรมมีการกะจีวรเป็นต้น. หลาย
บทว่า น วิริยํ อารภติ ความว่า ไม่ปรารภ ความเพียร แม้ทั้ง 2 อย่าง.
บทว่า อปฺปตฺตสฺส ความว่า เพื่อบรรลุธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค
และผล ที่ตนยังไม่บรรลุ. บทว่า อนธิคตสฺส ความว่า เพื่อประโยชน์
คือการบรรลุธรรมคือ ฌาน วิปัสสนา มรรคและผลนั้นนั่นแหละ อันตน
ยังมิได้บรรลุ. บทว่า อสจฺฉิกตสฺส ความว่า เพื่อประโยชน์คือการกระทำ
ให้แจ้งธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผลนั้น ที่ตนยังไม่